หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง)

LINE_ALBUM_เกษตร_3

ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตรให้เป็นผู้มีความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ

สามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ได้อย่างเหมาะสมมีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง)
Bachelor of Engineering Program in Agro-Industrial Systems Engineering
(Continuing Education)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร)
Bachelor of Engineering (Agro-Industrial Systems Engineering)

 

วศ.บ. (วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร)
B. Eng. (Agro-Industrial Systems Engineering)
shutterstock_734412136 (1)

ปรัชญาของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิตวิศวกรรมเกษตรให้เป็นผู้มีความรู้ทั้งทางทฤษฏีและปฏิบัติ สามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมมาใช้ได้อย่างเหมาะสม มีภาวะผู้นำ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ ในการพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศ ไม่ว่าจะเพื่อส่งเสริมความได้เปรียบด้านการแข่งขันระดับนานาชาติหรือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในประเทศ จำเป็นต้องใช้ ความรู้และทักษะทางวิศวกรรมเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ การออกแบบ การแก้ปัญหา รวมถึง การควบคุมการดำเนินการหรือการจัดสร้างระบบหรือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง โดยวิศวกรที่สามารถทำงานดังกล่าวได้ยังต้องมีความเข้าใจในระบบการผลิตทางการเกษตร สามารถประยุกต์ความรู้พื้นฐานและบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อแก้ปัญหาเชิงระบบ รวมถึงสามารถพัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยื่น

หลักสูตรวิศวกรรมเกษตร คณะ วิศวกรรมศาสตร์ สจล. มีการดําเนินการผลิตบัณฑิตทางวิศวกรรมเกษตรและพัฒนาเนื้อหาของหลักสูตรมาอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศในการผลิตและพัฒนาบุคลากรในสาขาที่ได้กล่าวมา

จำนวนหน่วยกิต รูปแบบ และประเภทของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต : 111 หน่วยกิต
รูปแบบ : หลักสูตรปริญญาตรี 3 ปี (ต่อเนื่อง) ทางวิชาชีพ แบบพหุวิทยาการ
ประเภทของหลักสูตร

  • หลักสูตรทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • วิศวกรที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรรวมถึงอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเกษตรในทุกองค์กร
  • วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง ในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และโรงงานประเภทอื่นๆ
  • วิศวกรที่ปรึกษาออกแบบระบบจัดการด้านการเกษตร
  • วิศวกรฝ่ายขาย เครื่องมือ เครื่องจักรด้านการเกษตร
  • อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนและหน่วยงานอิสระ
  • นักการขาย เจ้าของธุรกิจ และอาชีพอิสระอื่นๆ