หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ

550562

การผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งศาสตร์ของวัสดุทางการเกษตรและอาหารเพื่อพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

ชื่อหลักสูตร

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ
Doctor of Engineering Program in Food and Agricultural Intelligence Engineering

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ)
Doctor of Engineering (Food and Agricultural Intelligence Engineering)

วศ.ด. (วิศวกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ )
D. Eng. (Food and Agricultural Intelligence Engineering)

ปรัชญาของหลักสูตร

การผลิตบัณฑิตที่สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ด้านวิศวกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ รวมทั้งศาสตร์ของวัสดุทางการเกษตรและอาหารเพื่อพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะ เป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

จำนวนหน่วยกิต รูปแบบ และประเภทของหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต : แบบ 1.1 สําหรับผู้เข้าศึกษาสําเร็จปริญญาโท 48 หน่วยกิต
                          แบบ 2.1 สําหรับผู้เข้าศึกษาสําเร็จปริญญาโท 48 หน่วยกิต
                          แบบ 2.2 สําหรับผู้เข้าศึกษาสําเร็จปริญญาตรี 72 หน่วยกิต

รูปแบบ:  ระบบการศึกษาแบบทวิภาค โดยใน 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่ง 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อน ให้กำหนดระยะเวลาโดยสัดส่วนเทียบเคียงได้กับภาคการศึกษาปกติ

ภาษาที่ใช้: หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน

  • วัน – เวลาราชการปกติ
  • นอกวัน – เวลาราชการ
  • วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 17.30 – 20.30 น.
  • วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 12.00 น. , 13.00 – 16.00 น. , 17.30 – 20.30 น.

ภาคการศึกษาที่ 1   เดือนสิงหาคม – เดือนพฤศจิกายน

ภาคการศึกษาที่ 2   เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
  • นักวิจัยและพัฒนาในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • อาชีพอิสระ เช่น เจ้าของกิจการทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร เป็นต้น
  • นักวิเคราะห์โครงการด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมอาหาร
  • นักพัฒนาเครื่องจักร/อุปกรณ์/กระบวนการผลิตอาหารและเกษตรอัจฉริยะ
  • ที่ปรึกษาระบบการผลิตในด้านเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรอัจฉริยะ
  • ผู้ประกอบการเกษตรอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมอาหาร และเกษตรอัจฉริยะ
  • ผู้ตรวจสอบด้านเกษตรอุตสาหกรรม ระบบการผลิตอาหารและเกษตรอัจฉริยะ