ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์

Agricultural Engineering, SCHOOL OF ENGINEERING, KMITL

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบชีวภาพ (Biosystems Engineering)

ระดับปริญญาโท

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบชีวภาพ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ): Master of Engineering Program in Biosystems Engineering

ระดับปริญญาเอก
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบชีวภาพ
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ): Doctor of Engineering Program in Biosystems Engineering

ระดับปริญญาโท

ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมระบบชีวภาพ) |  Master of Engineering (Biosystems Engineering)

ตัวย่อวศ.ม. (วิศวกรรมระบบชีวภาพ) | M.Eng. (Biosystems Engineering)

ระดับปริญญาเอก
ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิศวกรรมระบบชีวภาพ) | Doctor of Engineering (Biosystems Engineering)
ตัวย่อ: วศ.ด. (วิศวกรรมระบบชีวภาพ) | D. Eng. (Biosystems Engineering)

โลโก้หลักสูตร:

 

แนะนำหลักสูตร:
   หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิศวกรรมระบบชีวภาพ มุ่งเน้นการพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพที่มีความรู้ความสามารถระดับสูงในสาขาวิชาวิศวกรรมระบบชีวภาพ โดยกระบวนการวิจัยเพื่อให้สามารถบุกเบิกแสวงหาความรู้ใหม่ได้อย่างมีอิสระ รวมทั้งมีความสามารถในการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการเชื่อมโยงและบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนในหลักสูตรสามารถพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนตามความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตรใน 6 ด้าน ดังนี้

  1. เครื่องจักรกลและระบบอัตโนมัติสำหรับการเกษตรและกระบวนการชีวภาพ (Mechanization and Automation for Agriculture and Bioprocessing)
  2. วิศวกรรมภูมิสารสนเทศและการเกษตรแม่นยำ (Geoinformatics and Precision Agriculture)
  3. ฟาร์มอัจฉริยะและการเกษตรแบบควบคุมสภาพภูมิอากาศ (Smart Farming and Climate Controlled Agriculture)
  4. วิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยว กระบวนการชีวภาพ และพลังงานชีวภาพ (Postharvest, Bioprocess, and Bioconversion Engineering)
  5. การประเมินและการปรับมาตรฐานคุณภาพในการเกษตรและกระบวนการชีวภาพด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่าง (Quality Evaluation and Standardization in Agriculture and Bioprocessing via Non-destructive Techniques)
  6. การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ในการเกษตรและกระบวนการชีวภาพ (Data Analytics and Artificial Intelligence in Agriculture and Bioprocessing)

จุดเด่นของหลักสูตร:

  • มีความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตรที่ชัดเจน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนในหลักสูตรและบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรสามารถเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านที่ตนสนใจได้อย่างถ่องแท้และครอบคลุม
  • มีการเรียนการสอนในรายวิชาที่ทันสมัย ทั้งในหมวดวิชาบังคับ วิชาบังคับเลือก และวิชาเลือก ซึ่งครอบคลุมความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตรในทุกด้าน
  • มีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่างๆ ที่ดำเนินงานวิจัยภายใต้แหล่งทุนวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบันฯ อย่างต่อเนื่อง
  • มีอุปกรณ์และเครื่องมือในการดำเนินการวิจัยที่พร้อมรองรับการวิจัยขั้นสูง
  • เป็นหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีนักศึกษาต่างชาติในหลักสูตรทั้งระดับปริญญาโทและปริญญาเอก
  • หลักสูตรมีความร่วมมือกับทั้งมหาวิทยาลัยต่างประเทศ บริษัทชั้นนำ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้เรียนในหลักสูตรมีโอกาสในรับประสบการณ์จากหน่วยงานเหล่านี้ ทั้งในรูปแบบของการเรียนแบบสองปริญญา การทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก เป็นต้น

งานวิจัยเด่นของหลักสูตร:

  • Machine learning-based prediction of nutritional status in oil palm leaves using proximal multispectral images.
  • Evaluation of informative spectral wavelengths for estimating soluble solids content in sugarcane billets.
  • Development of automatic tuning for combined preprocessing and hyperparameters of machine learning and its application to NIR spectral data of coconut milk adulteration.
  • Near-Infrared Spectroscopy Modeling of Combustion Characteristics in Chip and Ground Biomass from Fast-Growing Trees and Agricultural Residue.
  • NIR Spectroscopy as an Alternative to Thermogravimetric Analyzer for Biomass Proximate Analysis: Comparison of Chip and Ground Biomass Models.
  • Classification of the crosslink density level of para rubber thick film of medical glove by using near-infrared spectral data.
  • Thermochemical treatment of spent coffee grounds via torrefaction: A statistical evidence of biochar properties similarity between inert and oxidative conditions.
  • A thermogravimetric assessment of eco-friendly biochar from oxidative torrefaction of spent coffee grounds: Combustion behavior, kinetic parameters, and potential emissions.
  • The influence of processing parameters of parboiled rice on its physiochemical and texture properties.
  • Effects of vibration, vacuum, and material thickness on infrared drying of Cissus quadrangularis Linn.
Scroll to Top