ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์

Agricultural Engineering, SCHOOL OF ENGINEERING, KMITL

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ

ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Engineering Program in Agri-Intelligence Engineering

ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ) | Bachelor of Engineering (Agri-Intelligence Engineering)
ตัวย่อ: วศ.บ. (วิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ) | B. Eng. (Agri-Intelligence Engineering)

โลโก้หลักสูตร:

 

แนะนำหลักสูตร:
   ผลิตวิศวกรเพื่อส่งเสริมและเป็นผู้นำในการทำเกษตรสมัยใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีความแม่นยำ (Precision Techonology) เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร พร้อมลดต้นทุน โดยใช้การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติกับโจทย์ปัญหาจริงจากผู้ประกอบการต่าง ๆ (Problem-Based Learning) นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เป็นวิศวกรที่มีกระบวนการคิดวิพากษ์ (Critical Thinking) และการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยกรอบความคิดแบบพัฒนาได้ (Growth Mindset)

  หลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ เป็นหลักสูตรที่ผลิตวิศวกร นักนวัตกรรม นักประดิษฐ์ ตลอดจนเจ้าของกิจการที่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในระบบอุตสาหกรรมกรผลิตทางการเกษตรบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะจะเป็นผู้มีความรู้และทักษะที่ทันสมัย สามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร ตั้งแต่แปลงเพาะปลูกไปจนถึงมือผู้บริโภค เช่น เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชและโรงเรือนปลูกพืช การออกแบบระบบน้ำทางการเกษตรสมัยใหม่ หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ระบบเกษตรแม่นยำ ออกแบบเครื่องจักรกล ปัญญาประดิษฐ์ ระบบแมคคาทรอนิกส์ อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร เครื่องมือวัดและระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ทางการเกษตร วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ การควบคุมคุณภาพผลิตผลตลอดจนการจัดการเกษตรเชิงพาณิชย์

จุดเด่นของหลักสูตร:

  • ใช้การเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติจากโจทย์ปัญหาจริง
  • มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และวิสาหกิจชุมชน
  • มีการเรียนการสอนในรายวิชาที่ทันสมัย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ ระบบ IoT ระบบเกษตรแม่นยำ แมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
  • หลักสูตรให้ความสำคัญต่อการผลิตวิศวกรที่มีความสามารถและทักษะในการคิดค้น พัฒนา ต่อยอด สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อภาคอุตสาหกรรมทางการเกษตร
  • สามารถริเริ่มนำความรู้ทางวิศวกรรม เทคโนโลยี ร่วมกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเกษตรไทยให้ก้าวสู่อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่
  • นักศึกษาทุกชั้นปีต้องคิดค้นและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ผ่านรายวิชาปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมอัจฉริยะและโครงงานทางวิศวกรรมเกษตรอัจฉริยะ
  • นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากบริษัทชั้นนำและส่วนราชการที่มีความร่วมมือกับ สจล. จากการร่วมสอนและให้ร่วมปฏิบัติงานด้วย
  • ทักษะหลังการสำเร็จการศึกษา เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชและโรงเรือนปลูกพืช การออกแบบระบบน้ำทางการเกษตรสมัยใหม่ หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ระบบเกษตรแม่นยำ ออกแบบเครื่องจักรกล ปัญญาประดิษฐ์ ระบบแมคคาทรอนิกส์ อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร เครื่องมือวัดและระบบ IoT ทางการเกษตร วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ การควบคุมคุณภาพ และการเพิ่มผลผลิตเกษตร

ความร่วมมือต่างๆ :

  ภาควิชาวิศวกรรมเกษตร คณะวิศวรรมศาสตร์ มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และวิสาหกิจชุมชน หลายแห่ง เช่น

  • CNH Industrial (Thailand)
  • Siam Kubota Corporation
  • Yanmar S.P.
  • Charoen Pokphand Group
  • Betagro Public Co., Ltd.
  • Aero Group (1992) Co., Ltd.
  • PTT Public Co., Ltd.
  • Sunshine International Co., Ltd.
  • Agrinno Tech & Services Co., Ltd.
  • noBitter Co., Ltd.
  • NEXPIE Co., Ltd.
  • Internet Thailand Public Co., Ltd.
  • ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)
  • กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
  • วิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ

  โดยภาคอุตสาหกรรมได้ให้ความร่วมมือในด้านงานวิจัย การฝึกงาน สหกิจศึกษา รวมถึงการอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ แก่นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนของภาควิชาวิศวกรรมเกษตรอีกด้วย

อาชีพหลังจบการศึกษา หรือ start up:

  • วิศวกรวิจัยและพัฒนาระบบด้านงานเกษตรกรรม (Research and Development Engineer)
  • วิศวกรที่ปรึกษาด้านงานเกษตรกรรม (Consulting Engineer)
  • วิศวกรโครงการด้านงานเกษตรกรรม (Project Engineer)
  • วิศวกรฝ่ายขายเครื่องมือหรือเครื่องจักรกลการเกษตร (Sale Engineer)
  • วิศวกรควบคุมการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (Production Engineer)
  • เกษตรกรสมัยใหม่ (Smart Farmer)
  • นวัตกรหรือนักประดิษฐ์ด้านงานเกษตรกรรม (Innovator or Inventor)
  • นักพัฒนาโปรแกรมสำหรับงานเกษตรกรรม (Software Application Developer)
  • ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises)
  • อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และหน่วยงานอิสระ (Academic and Research Staff)

Facilities (ห้องปฏิบัติการ Co-Working Space):

  • NIRS Spectroscopy Research Center for Agricultural Products and Foods
  • Post Harvest Innovation Research and Development Laboratory
  • Drying and Preservation of Agricultural Products
  • Grain and Cereal Process Engineering Laboratory
  • Plant Factory and Greenhouse Technology
  • Agricultural AI Laboratory
  • Precision Agriculture Laboratory
  • Agricultural IoT Laboratory
  • Agricultural Mechatronics and Automation Laboratory
  • Soil Technology and Irrigation Laboratory
  • Co-Working Space

เครื่องมือต่างๆ:

  • Near Infrared Spectroscopy Analyzer / Near Infrared Multispectral Camera
  • Agricultural and Survey Drone
  • Agricultural Machinery – Farm Tractor / Combine Harvester / Planter / Sprayer
  • Real-Time Kinematics Global Positioning System (RTK – GPS)
  • Industrial and Mobile Robotics
  • Hydraulic and Pneumatic Control
  • Biomass Analyzer
  • Thermal and Heat Analyzer
  • 3D Printer / Laser Cutting / Workshop Tools

คุณสมบัติผู้สมัคร : สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือเทียบโอนมาจากสถาบันการศึกษาแห่งอื่น ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาตามเกณฑ์ของ สกอ. หรือผ่านการคัดเลือก (รับตรง) ตามข้อบังคับของสถาบันฯ

Scroll to Top