หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง)
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง)
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ): Bachelor of Engineering Program in Agro-Industrial Systems Engineering (Continuing Program)
ชื่อปริญญา: วิศวกรรมศาสตบัณฑิต (วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร) | Bachelor of Engineering (Agro-Industrial Systems Engineering)
ตัวย่อ: วศ.บ. (วิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร) | B.Eng. (Agro-Industrial Systems Engineering)
โลโก้หลักสูตร:
แนะนำหลักสูตร:
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหกรรมการเกษตร (ต่อเนื่อง) เป็นหลักสูตรที่ผลิตวิศวกร นักนวัตกร นักประดิษฐ์ ตลอดจนเจ้าของกิจการที่เป็นที่ต้องการของตลาดในภาคอุตสาหกรรมการผลิตทางการเกษตร โดยรูปแบบการเรียนการสอนทางหลักสูตรจะเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากหน่วยงานราชการและภาคเอกชนชั้นนำที่ทาง สจล. มีความร่วมมือ ทำให้บัณฑิตจะเป็นผู้มีความรู้และทักษะที่ทันสมัย สามารถประยุกต์องค์ความรู้เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร ทักษะความรู้ที่สำคัญที่บัณฑิตได้รับ ประกอบด้วย เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชและโรงเรือนปลูกพืช วิศวกรรมกระบวนการทางการเกษตร ออกแบบเครื่องจักรกล หุ่นยนต์เพื่อการเกษตร ระบบเกษตรแม่นยำ ปัญญาประดิษฐ์ ระบบแมคคาทรอนิกส์ อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร เครื่องมือวัดและระบบ IoT ทางการเกษตร
นักศึกษาที่ศึกษาหลักสูตรนี้สามารถเข้าร่วมโครงการ K-Engineering WiL (Work-integrated Learning) มีการจัดการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. 2 ปี หลังจากนั้นเรียนและทำงานที่สถานประกอบการ 1 ปี
จุดเด่นของหลักสูตร:
- มีการเรียนการสอนในรายวิชาที่ทันสมัย เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ ระบบ IoT หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรและระบบเกษตรแม่นยำ
- หลักสูตรให้ความสำคัญต่อการผลิตวิศวกรที่มีความสามารถและทักษะในการคิดค้น พัฒนา ต่อยอดนวัตกรรมเพื่อภาคอุตสาหกรรมเกษตร
- สามารถริเริ่มนำความรู้ทางวิศวกรรม เทคโนโลยี ร่วมกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อช่วยเกษตรไทยให้ก้าวสู่อุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่
- นักศึกษาได้รับประสบการณ์จากบริษัทชั้นนำและส่วนราชการที่มีความร่วมมือกับ สจล. จากการร่วมสอนและให้ร่วมปฏิบัติงานด้วย
ทักษะหลังสำเร็จการศึกษา :
- ระบบเกษตรแม่นยำ
- เครื่องมือวัดและระบบ IoT ทางการเกษตร
- อากาศยานไร้คนขับเพื่อการเกษตร
- หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรและปัญญาประดิษฐ์
- ระบบแมคคาทรอนิกส์
- การออกแบบเครื่องจักรกล
- เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชและโรงเรือนปลูกพืช
- วิศวกรรมกระบวนการทางการเกษตร
- วิศวกรรมหลังการเก็บเกี่ยวอัจฉริยะ
ความร่วมมือต่างๆ :
ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรได้มีการร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ได้แก่ บริษัท แอโร กรุ๊ป (1992) จำกัด บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด บริษัทสยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด บริษัท ข้าว ซี.พี. จำกัด บริษัท ยันม่าร์ เอส.พี. จำกัด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ บริษัท ซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ซันฟูดส์ จำกัด บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทอะกรินโน่ เทค แอนด์เซอร์วิสเซส จำกัด บริษัท เน็กซ์พาย จำกัด บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) วิสาหกิจชุมชน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้ให้ความร่วมมือในด้านงานวิจัย สหกิจศึกษา ฝึกงาน อบรมหลักสูตรต่าง ๆ ให้นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ นอกจากนั้น ยังร่วมกันพัฒนาหลักสูตรในภาควิชาวิศวกรรมเกษตรอีกด้วย
อาชีพหลังจบการศึกษา หรือ start up:
- วิศวกรที่นำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร รวมถึงอาชีพที่ใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมเกษตร และ/หรือ
- วิศวกรรมเครื่องกล ในทุกองค์กร
- วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรซ่อมบำรุง ในโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร อาหาร และโรงงานประเภทอื่นๆ
- วิศวกรที่ปรึกษาออกแบบระบบจัดการด้านการเกษตร
- วิศวกรฝ่ายขาย เครื่องมือ เครื่องจักรด้านการเกษตร และเครื่องมือกลอื่นๆ
- อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ในสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน และหน่วยงานอิสระ
นักการขาย เจ้าของธุรกิจ และอาชีพอิสระอื่นๆ
Facilities ห้องปฏิบัติการ co-working space:
- Grain and Cereal Process Engineering Lab
- NIRS Spectroscopy Research Center for Agricultural Products and Foods
- Post Harvest Innovation Research and Development Laboratory
- Precision Agriculture
- Plant Factory and Greenhouse Technology
- Drying and Preservation of Agricultural products
- Agricultural Mechatronics Laboratory
- Agricultural IoT Laboratory
- Agricultural AI Laboratory
เครื่องมือต่างๆ:
- โดรนสำรวจและโดรนเพื่อการเกษตร
- Auto-steering tractor
- ชุดทดลองการควบคุมเครื่องจักรในกระบวนการผลิตและแขนกล
- ชุดเครื่องมือปฏิบัติการ Workshop สมัยใหม่
- เครื่องเนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปีและกล้องเนียร์อินฟราเรดมัลติสเปกตรัล
คุณสมบัติผู้สมัคร :
- เป็นผู้ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตร ช่างกลเกษตร เทคนิคยานยนต์ เทคนิคเครื่องกล ซ่อมบำรุงอากาศยาน ไฟฟ้า เครื่องมือวัดและควบคุม เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ หรือสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม 2 ภาคเรียน 3.00 ขึ้นไป